สภาพปัญหาการเรียนในโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารของนักศึกษาสถาบันราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ

Primary tabs

Titleสภาพปัญหาการเรียนในโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารของนักศึกษาสถาบันราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ
Publication TypeThesis
Year of Publication2547
Authorsจุลพันธ์, อุไรลักษณ์
Degree ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Keywordsกลุ่มภาคเหนือ, การเรียน, นักศึกษา, สถาบันราชภัฏ, สภาพปัญหา, เทคโนโลยีการอาหาร, โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์, โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
Abstract

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพปัญหาการเรียนในโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารของนักศึกษาสถาบันราชภัฏกลุ่มภาคเหนือรวม 7 ด้าน ได้แก่ บุคลากร หลักสูตร การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การวัดผลและประเมินผล อาคารสถานที่ อุปกรณ์และเครื่องมือ และงบประมาณสนับสนุน โดยจำแนกตามเพศ ระดับชั้นปีที่ศึกษา ผลการเรียนเฉลี่ย และอาชีพผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารในสถาบันราชภัฏกลุ่มภาคเหนือ ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 215 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัญหาการเรียนในโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารของนักศึกษาสถาบันราชภัฏกลุ่มภาคเหนือทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2. นักศึกษาที่มีภาพต่างกันมีปัญหาการเรียนในโปรแกรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารทั้งในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. นักศึกษาที่ศึกษาในชั้นปีที่ต่างกันมีปัญหาการเรียนในโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านบุคลากร หลักสูตร การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และการวัดผลและประเมินผลนักศึกษามีปัญหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน 4. นักศึกษาที่มีผลการเรียนเฉลี่ยต่างกันมีสภาพปัญหาการเรียนในโปรแกรมวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารทั้งในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 5. นักศึกษาที่ผู้ปกครองมีอาชีพต่างกันมีปัญหาการเรียนในโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า นักศึกษามีปัญหาด้านอาคารสถานที่ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน

Citation Key136
ไฟล์แนบ: 
AttachmentSize
PDF icon tpg.pdf84.84 KB
PDF icon bib.pdf124.94 KB
PDF icon ch5.pdf264.38 KB
PDF icon ch4.pdf674.57 KB
PDF icon ch3.pdf381.06 KB
PDF icon ch2.pdf2.38 MB
PDF icon ch1.pdf283.91 KB
PDF icon con1.pdf0 bytes
PDF icon abs.pdf145.16 KB
PDF icon app.pdf146.72 KB