บทบาทการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 7

Primary tabs

Titleบทบาทการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 7
Publication TypeThesis
Year of Publication2548
Authorsกัลยาณี, อุบลเจริญ
Degreeครุศาสตรมหาบัณฑิต
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Keywordsการจัดการศึกษา, คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, บทบาทการมีส่วนร่วม, บทบาทการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา, เขตการศึกษา 7, โรงเรียนสังกัดเทศบาล
Abstract

การวิจัยเรื่องบทบาทการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 7 มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเขตการศึกษา 7 และเพื่อเปรียบเทียบบทบาทการมีส่วนร่วม ในการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 7 จำแนกตามวุฒิการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนสังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 7 จำนวน 270 คน จาก 18 โรงเรียน 5 เทศบาล ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความปรวนแปร และ การทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 7 มีความเห็นว่าบทบาทการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับปานกลางทั้งในภาพรวมเป็นรายด้านทุกด้าน และรายข้อเกือบทุกข้อ ยกเว้นในประเด็นเกี่ยวกับการศึกษาข้อมูลสภาพปัจจุบันของชุมชนท้องถิ่นที่ตั้งของสถานศึกษา ซึ่งคณะกรรมการมีความเห็นว่ามีบทบาทในระดับมาก 2. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญยตรีขึ้นไปและมีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมีบทบาทีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาแตกต่างกัน ทั้งในภาพรวมและรายด้าน ในด้านการกำหนดนโยบายและพัฒนาของสถานศึกษา ด้านการให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาด้านการให้ความเห็นชอบในการจัดทำสาระหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กทุกคนในเขตบริการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงมีคุณภาพ และได้มาตรฐาน ด้านการเสนอแนวทางและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไปของสถานศึกษา ด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ตลอดจนสามารถประสานงานกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้ สถานศึกษาเป็นแหล่งวิทยาการของชุมชนมีส่วนในการพัฒนา และด้านการปฏิบัติการอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานต้นสังกัดของสถานศึกษานั้น ส่วนด้านอื่นๆ นอกนั้นไม่มีความแตกต่างกัน 3. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีอาชีพแตกต่างกันมีบทบาทมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาแตกต่างกัน โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีอาชีพรับราชการมีส่วนร่วมมากกว่าคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีอาชีพเกษตรกรหรือรับจ้าง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีอาชีพรับราชการหรือรัฐวิสาหกิจมีส่วนร่วมในการจัดการการศึกษามากกว่าคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีมืออาชีพเกษตรกรหรือรับจ้าง และอาชีพค้าขายหรือประกอบธุรกิจส่วนตัว ในด้านกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาของสถานศึกษา ด้านให้ความเห็นชอบในการจัดการทำสาระหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น และคณะกรรมการถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีอาชีพรับราชการหรือรัฐวิสาหกิจมีบทบาทมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากกว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีอาชีพเกษตรหรือรับจ้าง ในด้านการเห็นชอบแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา ด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน การประสานงานกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้สถานศึกษาเป็นแหล่งวิทยาการของชุมชน และมีส่วนในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น ส่วนด้านอื่นๆนอกนั้นไม่มีความแตกต่างกัน

Citation Key172
ไฟล์แนบ: 
AttachmentSize
PDF icon tpg.pdf73.88 KB
PDF icon bib.pdf163.12 KB
PDF icon ch5.pdf284.91 KB
PDF icon ch4.pdf466.88 KB
PDF icon ch3.pdf305.79 KB
PDF icon ch2.pdf1.42 MB
PDF icon ch1.pdf302.13 KB
PDF icon con1.pdf134.45 KB
PDF icon abs.pdf219.81 KB
PDF icon app.pdf354.2 KB