การศึกษาปัจจัยและแนวทางการดำเนินงานของหมู่บ้าน กข.คจ. ดีเด่น ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา

Primary tabs

Titleการศึกษาปัจจัยและแนวทางการดำเนินงานของหมู่บ้าน กข.คจ. ดีเด่น ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา
Publication TypeThesis
Year of Publication2547
Authorsสุนิมิต, ชุ่มพงษ์
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Cityพิษณุโลก
Keywordsการพัฒนาชนบท
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีติ่ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ) ของหมู่บ้าน กข.คจ. ดีเด่น ระดับจังหวัด และเพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมในการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 6 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ หมู่บ้านโครงการ กข.คจ.ทุกจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 6 จำนวน 6 จังหวัด 469 หมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ หมู่บ้านโครงการ กข.คจ.ดีเด่น ระดับจังหวัด ประจำปี 2544 จำนวน 6 จังหวัด ๆ ละ 1 หมู่บ้าน รวม 6 หมู่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 6 รูปแบบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ดีเด่น ระดับจังหวัด ประจำปี 2544 เป็นเครื่องมือในการศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ของศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 6 และแบบสอบถามความคิดเห็นเพิ่มเตอมของหมู่บ้านตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ดีเด่น ระดับจังหวัด ประจำปี 2544 และนำเสนอข้อมูลในลักษณะของการบรรยายค่าร้อยละตามของเขตของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลสัมฤทธิ์การดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)ที่สามารถนำไปใช้ในการประเมินได้ คือ ปัจจัยการนำเสนอโครงการและการอนุมัติเงินยืม ปัจจัยประสิทธิภาพการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุน กข.คจ. ประจำหมู่บ้าน ปัจจัยการจัดทำข้อมูลทะเบียนบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้านตามเกณฑ์ จปฐ. และปัจจัยความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อโ๕รงการและหมู่บ้าน สำหรับปัจจัยที่ส่งผลสัมฤทธิ์ต่อการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายต้องได้รับการพัฒนา คือ ปัจจัยประสิทธิภาพของครัวเรือนในการใช้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพและการใช้คืนเงินยืม ปัจจัยการหมุนเวียนรอบยืมเงินและการให้โอกาสครัวเรือนเป้าหมายได้ยืมเงินยืมอย่างทั่วถึง ปัจจัยการติดตาม สนับสนุน กำกับดูแลครัวเรือนยืมเงินรายได้เพิ่มของครัวเรือนตามเกณฑ์ จปฐ. ที่กำหนด (เฉลี่ยเกินกว่า 15,00 บาท/คน/ปี) ปัจจัยการสนับสนุนส่งเสริม การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อหมู่บ้านและชุมชน และปัจจัยการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ต่อหมู่บ้าน/ชุมชน ที่สามารถขยายผลเป็นตัวอย่างให้กับหมู่บ้านต่างๆ ได้พบว่า คณะกรรมการดองทุน กข.คจ. ประจำหมู่บ้านยังไม่เข้าใจในการจัดทำป้ายหรือสมุดบันทึก ของผู้ที่จะได้ยืมในรอบถัดไป การเป็นเครือข่ายหมู่บ้าน กข.คจ.ระดับตำบล/อำเภอ และการติดตามเป็นประจำสม่ำเสมอ ประชุมทุกเดือน และยังต้องได้รับการช่วยเหลือ ในด้านการรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างใกล้ชิด สำหรับครัวเรือนยากจนยังไม่เข้าใจในการเลือกประกอบอาชีพเสริมและการทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ จปฐ.ที่กำหนด (เฉลี่ยเกินกว่า 15,000 บาท/คน/ปี) ดังนั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการติดตามและดำเนินงานอย่างใกล้ชิด และติดตามการใช่จ่ายเงินให้เป็นไปตามโครงการ ตลอดจนให้คำแนะนำในการประกอบอาชีพเสริมแก่ครัวเรือนยากจนเป้าหมาย เพื่อให้สามารถนำเงินยืมไปลงทุนได้อย่างเหมาะสม สามารถสร้างรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้พ้นจากความยากจนตามเกณฑ์ จปฐ ที่กำหนด รูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) คือ รูปแบบที่ทำให้หมู่บ้านโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) มีการเตรียมความพร้อมแก่คณะกรรมการกองทุน กข.คจ. และประชาชนให้ความเข้าใจถึงความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ เงื่อนไขหลักเกณฑ์ และวิธีดำเนินโครงการที่ชัดเจน ที่มีการพัฒนาศักยภาพและสร้างกระบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน การใช้ข้อมูลสารสนเทศ เทคโนโลยีที่เหมาะสม ภูมิปัญญา เทคนิควิชาการใหม่ ๆ ในการบริหารจัดการกองกองทุนที่มีประสิทธิภาพ และประชากรทั่วไปสามารถบริหารจัดการทรัพยากร การประยุกต์ใช่วัฒนธรรมประเพณี ในการเลือกประกอบอาชีพที่เหมาะสมสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยต้นเองและเป็นตัวอย่างแก่ปมู่บ้านอื่นได้

Citation Key200
ไฟล์แนบ: 
AttachmentSize
PDF icon tpg.pdf80.37 KB
PDF icon bib.pdf67.75 KB
PDF icon ch5.pdf917.58 KB
PDF icon ch4.pdf2.13 MB
PDF icon ch3.pdf121.58 KB
PDF icon ch2.pdf2.32 MB
PDF icon ch1.pdf249.45 KB
PDF icon con1.pdf203.06 KB
PDF icon abs.pdf182.83 KB
PDF icon app.pdf1.24 MB