การศึกษาสภาพและความต้องการในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุโขทัย

Primary tabs

Title การศึกษาสภาพและความต้องการในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุโขทัย
Publication TypeThesis
Year of Publication2545
Authorsบุญชู, นาคโต
Degreeครุศาสตรมหาบัณฑิต
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Cityพิษณุโลก
Keywordsโรงเรียนมัธยมศึกษา
Abstract

การศึกษาสภาพและความต้องการในการทำวิจัยในชั้นเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุโขทัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและความต้องการในการทำวิจัยในชั้นเรียนและเปรียบเทียบสภาพและความต้องการในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ประสบการณ์การเข้ารับการอบรมด้านการทำวิจัย ขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุโขทัย จำนวน 175 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีการของเชฟเฟ่ (Schette’s Method) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสุโขทัย ครูส่วนใหญ่เคยผ่านการอบรมด้านการวิจัย และเคยทำวิจัยในชั้นเรียน คิดเป็นร้อยละ 64.57 ปัญหาการวิจัยที่พบคือ ครูขาดความรู้และทักษะเกี่ยวกับการใช้สถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนการเผยแพร่ผลงานการวิจัยนั้น เผยแพร่ในรูปของเอกสาร 2. ความต้องการในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูมัธยมศึกษา จังหวัดสุโขทัย พบว่า ส่วนใหญ่มีความต้องการด้านความรู้และทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านเสริมแรงจูงใจ ด้านงบประมาณ ด้านเวลา และด้านแหล่งค้นคว้าและเครื่องอำนวยความสะดวก ซึ่งอยู่ในระดับมาก 3. ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความต้องการทำวิจัยในชั้นเรียนไม่แตกต่างกัน 4. ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความต้องการในการทำวิจัยในชั้นเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 5. ครูที่มีประสบการณ์การเข้าอบรมด้านการทำวิจัยต่างกัน มีความต้องการในการทำวิจัยในชั้นเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 6. ครูที่อยู่โรงเรียนขนาดต่างกัน มีความต้องการในการทำวิจัยในชั้นเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05

Citation Key237
ไฟล์แนบ: 
AttachmentSize
PDF icon tpg.pdf72.25 KB
PDF icon bib.pdf87.91 KB
PDF icon ch5.pdf138.18 KB
PDF icon ch4.pdf1.98 MB
PDF icon ch3.pdf294.83 KB
PDF icon ch2.pdf1.65 MB
PDF icon ch1.pdf295.04 KB
PDF icon con1.pdf672.63 KB
PDF icon abs.pdf182.32 KB
PDF icon app.pdf150.82 KB