การพัฒนากิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อสร้างเสริมภาวะสุขภาพของข้าราชการกองบิน 46 จังหวัดพิษณุโลก

Primary tabs

Titleการพัฒนากิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อสร้างเสริมภาวะสุขภาพของข้าราชการกองบิน 46 จังหวัดพิษณุโลก
Publication TypeThesis
Year of Publication2548
Authorsวุฒิไกร, นาคหวัง
Degree ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Thesis Typeวิทยานิพนธ์
Keywordsการส่งเสริมสุขภาพ
Abstract

การพัฒนากิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อสร้างเสริมภาวะสุขภาพของข้าราชการ กองบิน 46 จังหวัดพิษณุโลก มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพภาวะสุขภาพของข้าราชการ เปรียบเทียบศักยภาพจากการทดลองกิจกรรมที่กำหนด เพื่อกำหนดกิจกรรมที่เหมาะสมและสร้างเสริมภาวะสุขภาพให้ข้าราชการ กลุ่มตังอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 50 คน ได้มาโดยความสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 กิโลกรัม/ตารางเมตร ขึ้นไป และผ่านการประเมินความพร้อมก่อนการออกกำลังกายทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 4 ฉบับ คือ แบบสำรวจข้อมูลประวัติสุขภาพของผู้เข้าร่วมกิจกรรม แบบสอบถามในการดำเนินกิจกรรมแบบประเมินสุขภาพจิตของผู้เข้าร่วมกิจกรรม และแบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้เข้าร่วมกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการทดสอบที (T-test) ค่าการทดสอบเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์ความถี่ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพภาวะสุขภาพของข้าราชการกองบิน 46 ทั้งหมด 727 คน ส่วนใหญ่มีภาวะสุขภาพปกติจำนวน 458 คน คิดเป็นร้อยละ 63 และมีภาวะสุขภาพผิดปกติจำนวน 269 คน คิดเป็นร้อยละ 37 ข้าราชการที่มีภาวะสุขภาพผิดปกติส่วนใหญ่มีดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด มีไขมันมาก ความดันเลือกสูง และน้ำตาลในเลือดสูง และน้ำตาลในเลือดสูง ตามลำดับ ได้กลุ่มตัวอย่างจาก ผู้ที่มีภาวะสุขภาพผิดปกติ จำนวน 50 คน ได้มาโดยความสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมได้ผ่านการประเมินความพร้อมก่อนการออกกำลังกาย และมีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 25 กิโลกรัม/ตารางเมตร ขึ้นไป 2. ผลการเปรียบเทียบศักยภาพหลังจากการทดลองกิจกรรมที่กำหนด 2.1 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่มีภาวะสุขภาพเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ทั้งทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านโภชนาการ 2.2 การเปรียบเทียบศักยภาพของกลุ่มตังอย่างเกี่ยวกับกิจกรรมการสร้างเสริมภาวะสุขภาพของ ข้าราชการในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก 2.3 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีชั้นยศต่างกัน มีศักยภาพเกี่ยวกับกิจกรรมการสร้างเสริมภาวะสุขภาพ ไม่แตกต่างกัน 2.4 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่อายุต่างกัน มีศักยภาพเกี่ยวกับกิจกรรมการสร้างเสริมภาวะสุขภาพ แตกต่างกัน 2.5 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ลักษณะงานต่างกัน มีศักยภาพเกี่ยวกับกิจกรรมการสร้างเสริมภาวะ สุขภาพแตกต่างกัน 2.6 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่มีเกณฑ์คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับคุณภาพชีวิตที่ดี 3. ได้รูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสม ซึ่งกำหนดรูปแบบาจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการดำเนิน การจัดกิจกรรม และจากการประเมินความคิดเห็นของกลุ่มตังอย่าง สามารถนำไปเป็นแนวทางหรือนำไปทดลองปฏิบัติในการสร้างเสริมภาวะสุขภาพต่อไป

Citation Key322
ไฟล์แนบ: