การศึกษาปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาการดำเนินงานพัสดุของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุในสถาบันราชภัฏ

Primary tabs

Titleการศึกษาปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาการดำเนินงานพัสดุของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุในสถาบันราชภัฏ
Publication TypeThesis
Year of Publication2546
Authorsปาริชาติ, อินทรพุก
Degree ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Thesis Typeวิทยานิพนธ์
Keywordsผู้บริหารและเจ้าหน้า, พัสดุ, วิธีการแก้ปัญหาการดำเนินงาน
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาการดำเนินงานพัสดุของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุในสถาบันราชภัฏในด้านการซื้อการจ้าง การเก็บรักษาพัสดุ การเบิก-จ่ายพัสดุ การตรวจสอบพัสดุประจำปี การจำแนกตามสถานภาพ อายุราชการ ประสบการณ์ในการดำเนินงานพัสดุ และขนาดสถาบันราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี หัวหน้างานพัสดุและเจ้าหน้าที่พัสดุในสถาบันราชภัฏ จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการแบบมาตรส่วนประมาณค่า และมีลักษณะเป็นแบบปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test โดยเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการดำเนินงานพัสดุของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุในสถาบันราชภัฏโดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง 1. ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุในสถาบันราชภัฏที่มีสถานภาพต่างกันมีปัญหาการดำเนินงานพัสดุในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 2. ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุที่มีอายุราชการต่างกันมีปัญหาการดำเนินงานพัสดุในภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าปัญหาด้านการซื้อจ้างมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุที่มีประสบการณ์ในการดำเนินงานพัสดุพัสดุต่างกัน มีปัญหาการดำเนินงานพัสดุในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 4. ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่พัสดุที่อยู่ในสถาบันราชภัฏขนาดต่างกันมีปัญหาการดำเนินงานพัสดุในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน สำหรับแนวทางในการแก้ปัญหาการดำเนินงานพัสดุของสถาบันราชภัฏ พบว่าด้านการซื้อจ้าง สถาบันราชภัฏแต่ละแห่งได้ใช้วิธีการแก้ปัญหาโดยจัดทำคู่มือ แบบฟอร์มการจัดซื้อ การจัดจ้างและเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดประชุม อบรม สัมมนาให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ความเข้าใจในระเบียบและแนวปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกันนอกจากนี้ยังกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ (Specifications) ให้เป็นกลางเพื่อความโปร่งใสและเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ด้านการเก็บรักษาพัสดุที่เป็นระเบียบปลอดภัยและจัดเก็บพัสดุจำแนกประเภทให้เป็นหมวดหมู่เพื่อสะดวกในการตรวจสอบและการเก็บรักษา รวมทั้งมีระบบฐานข้อมูลทรัพย์สินที่เป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบและการเก็บรักษา รวมทั้งมีระบบฐานข้อมูลทรัพย์สินที่เป็นปัจจุบัน ด้านการเบิก - จ่ายพัสดุสถาบันราชภัฏแต่ละ แห่งใช้วิธีการแก้ปัญหาโดยกำหนดแนวปฏิบัติสำหรับเบิก – จ่าย และวันเวลาในการเบิกจ่ายพัสดุให้ชัดเจน มีระบบควบคุมการเบิก – จ่าย มีหลักฐานการเบิกจ่าย พัสดุและมีการตรวจนับพัสดุคงเหลือ ด้านการตรวจสอบพัสดุประจำปี สถาบันราชภัฏแต่ละแห่งใช้วิธีการแก้ปัญหาโดยสร้างความรู้ความเข้าใจให้คณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปีให้มีการตรวจสอบพัสดุอย่างจริงจัง ส่วนด้านการจำหน่ายพัสดุ สถาบันราชภัฏแต่ละแห่งได้ใช้วิธีการแก้ปัญหาโดยกำหนดรูปแบบและวางมาตรการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติให้หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรงเข้าสู่ระบบการบริหารพัสดุ หรือวงจรการบริหารพัสดุเพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด

Citation Key376
ไฟล์แนบ: