ปัญหาการบริหารงานลูกเสือในโรงเรียน ในทัศนะผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนลูกเสือ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร

Primary tabs

Titleปัญหาการบริหารงานลูกเสือในโรงเรียน ในทัศนะผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนลูกเสือ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร
Publication TypeThesis
Year of Publication2543
Authorsกิตติ, เหล่ากสิการ
Degreeครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Keywordsการบริหาร, การลูกเสือ, ผู้บริหารโรงเรียน, ลูกเสือ
Abstract

การวิจัยปัญหาการบริหารงานลูกเสือในโรงเรียนในทัศนะของผู้บริหสนโรงเรียนและครูผู้สอนลูกเสือ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนลูกเสือเกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานลูกเสือในดรงเรียน ด้านการวางแผน ด้านการบริหารจัดการ ด้านการติดตามผลประเมินผล ด้านบุคลากร ด้านหลักสูตรและกิจกรรม และเพื่อเปรียบเทียบทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนลูกเสือเกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานลูกเสือในโรงเรียน ด้านการวางแผน ด้านการบริหารจัดการ ด้านติดตามผลประเมินผล ด้านบุคลากร ด้านหลักสูตรและกิจกรรม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอนลูกเสือสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Multi Random Sampling ) เป็นผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 190 คน ครูผู้สอน จำนวน 351 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานลูกเสือในโรงเรียน มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List ) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t –test ผลการวิจัย 1. ผลการศึกษาปัญหาการบริหารงานลูกเสือในโรงเรียนในทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ลูกเสือสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร ในด้านการวางแผนด้านการบริหารจัดการ ด้านการติดตามผลประเมินผล ด้านบุคลากร ด้านหลักสูตรและกิจกรรม พบว่าผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนมีทัศนะต่อปัญหาทุกด้านในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาสูงสุดในแต่ละด้าน คือ การวางแผน ได้แก่ การวางแผนด้านงบประมาณในการสนับสนุนกิจกรรมลูกเสือ ด้านการบริหารงานจัดการ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจกรรมลูกเสือต่อชุมชนและหน่วนงานอื่นๆด้านการติดตามผลประเมินผล ได้แก่ การทำวิจัยเพื่อพัฒนา กิจกรรมลูกเสือ ด้านบุคลากร ได้แก่ การ่วมดำเนินการกิจกรรมลูกเสือตามแผนที่กำหนด ด้านหลักสูตรและกิจกรรม ได้แก่ วัสดุ สื่ออุปกรณ์ ในการจัดกิจกรรมลูกเสือ 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่าผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนลูกเสือเกี่ยวกับสภาพบริหาร งานลูกเสือในโรงเรียน พบว่าผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนลูกเสือมีทัศนะต่อปัญหาการบริหารงานลูกเสือในโรงเรียน ด้านวางแผนได้แก่ แผนงานตามวัตถุประสงค์และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ การวางแผนการจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้บริหารและครูผู้สอน ความรู้ในหลักการลูกเสือ การวางแผนพัฒนากิจกรรมลูกเสือในโรงเรียน ความต่อเนื่องของแผนงานหรือโครงการ ด้านการบริหารจัดการได้แก่การมอบหมายงานในความรับผิดชอบกิจกรรมลูกเสือ การดำเนินการเรื่องทะเบียนและเอกสาร เวลาในการจัดกิจกรรมลูกเสือ ความร่วมมือและการให้ขวัญและกำลังใจจากผู้ร่วมงาน การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่กิจกรรมลูกเสือต่อชุมชนและหน่วยงานอื่นๆ การจัดกิจกรรมตามที่กำหนดไวในหลักสูตร ด้านการติดตามผลประเมินผล ความสำคัญและประโยชน์ของการติดตามผลประเมินผลการจัด กิจกรรมลูกเสือ การนิเทศและการติดตามผลประเมินผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในแผนงานด้านบุคลากร การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี การสร้างสัมพันธภาพในการจัดทำกิจกรรมลูกเสือ การร่วมดำเนินกิจกรรมลูกเสือตามแผนที่กำหนด ด้านหลักสูตรและกิจกรรม ความปลอดภัยในการจัดกิจกรรมลูกเสือ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยครูผู้สอนเห็นว่าเป็นปัญหามากกว่าผู้บริหารโรงเรียน

Citation Key402
ไฟล์แนบ: