การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน

Primary tabs

Titleการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน
Publication TypeThesis
Year of Publication2557
Authorsศิริสุภา, เอมหยวก
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Date Published2557-09-25
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Thesis Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Keywordsการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะ, ครูบรรณารักษ์, สมรรถะนวิชาชีพ, ห้องสมุดโรงเรียน
Abstract

ศิริสุภา เอมหยวก การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะวิชาชีพครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมสมรรถนะวิชาชีพครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนเพื่อทอลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมสมรรถนะวิชาชีพครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน และเพื่อประเมินผลรูปแบบการเสริมสร้างสมสมรรถนะวิชาชีพครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในการวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะวิชาชีพครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน คือ ครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทั่วประเทศ การเก็บข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์แบบสำรวจสมรรถนะวิชาชีพจากครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนตามขนาดของโรงเรียน จำนวน 369 คน ส่วนการทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมสมรรถนะวิชาชีพครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนใช้กลุ่มตัวอย่างจากครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก จากการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 26 คน เป็นกลุ่มทดลองใช้รูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นหลักสูตรฝึกอบรม แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ แบบทดสอบ แบบวัดเจตคติ แบบวัดทักษะปฏิบัติ และแบบประเมินรูปแบบการเสริมสร้างสมสมรรถนะวิชาชีพครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL) และวิเคราะห์ข้อมูลอื่นด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะวิชาชีพครูบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ ด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ด้านการจัดการ ด้านการศึกษา และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โมเดลโครงสร้างสมรรถนะวิชาชีพครูบรรณารักษ์มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) พัฒนารูปแบบได้รูปแบบหลักสูตรฝึกอบรม 4 หน่วย การเรียนรู้ ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D. = 0.48) และพบว่ารูปแบบมีความสอดคล้องกันทุกองค์ประกอบ 2) การทดลองใช้รูปแบบพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ คะแนนทักษะปฏิบัติ คะแนนเจตคติสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และค่าเฉลี่ยของคะแนนการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ พบว่าอยู่ในระดับมาก ( = 4.47, S.D. = 0.58) 4) การประเมินผลรูปแบบ 4 ด้านได้แก่ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้อง พบว่าอยู่ระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.54)

Citation Key9
ไฟล์แนบ: