การศึกษาสภาพและความต้องมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 3-4 จังหวัดพิษณุโลก

Primary tabs

Titleการศึกษาสภาพและความต้องมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 3-4 จังหวัดพิษณุโลก
Publication TypeThesis
Year of Publication2549
Authorsสมศรี, พานระลึก
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Cityพิษณุโลก
Keywordsการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ความต้องมีส่วนร่วมของชุมชน, จังหวัดพิษณุโลก, ช่วงชั้นที่ 3-4, ส่วนร่วมของชุมชน
Abstract

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3-4 จังหวัดพิษณุโลก จำแนกตาม เพศ อายุ เขตพื้นที่ การศึกษา และ ฐานะผู้แทนบุคคลของคณะกรรมการ สถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดพิษณุโลก 25 โรงเรียน จำนวน 254 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3-4 จังหวัดพิษณุโลก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตร ฐาน การเปรียบเทียบสภาพและความต้องการ มีส่วนร่วมของชุมชน ในการจัดการศึกษาข นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3-4 จังหวัดพิษณุโลก ใช้สถิติการทดสอบที (t-test) สถิติทดสอบเอฟ (F-test) และ ทดสอบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีการของเชฟเฟ (scheffe) ผลการวิจัยพบว่า 1. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อสภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับปานกลาง 2. เมื่อเปรียบเทียบโดย จำแนกตาม ตัวแปรเพศ ตัวแปรอายุ ตัวแปรเขตพื้นที่การศึกษาคณะกรรมการสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็น ต่อสภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3-4 จังหวัดพิษณุโลก ไม่แตกต่างกัน ตัวแปรฐานะผู้แทนบุคคลของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพึ้นฐาน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพึ้นฐาน มีความคิดเห็นต่อความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัด การศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก 4. เมื่อเปรียบเทียบโดย(จำแนกตามตัวแปร เพศ ตัวแปรอายุ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นต่อความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้ นที่ 3-4 จังหวัดพิษณุโลก ไม่แตกต่างกัน ตัวแปรเขตพื้นที่การศึกษา ตัวแปรฐานะผู้แทนบุคคลของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญูทางสถิติที่ระดับ .05

Citation Key139
ไฟล์แนบ: 
AttachmentSize
PDF icon tpg.pdf80.65 KB
PDF icon app.pdf104.64 KB
PDF icon ch5.pdf270.61 KB
PDF icon ch4.pdf6.31 MB
PDF icon ch3.pdf293.48 KB
PDF icon ch2.pdf3.13 MB
PDF icon ch1.pdf207.06 KB
PDF icon con1.pdf686.33 KB
PDF icon abs.pdf345.84 KB
PDF icon bib.pdf426.81 KB