ความต้องการในการพัฒนางานวิชาการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ของครูผู้สอนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครพิษณุโลก

Primary tabs

Titleความต้องการในการพัฒนางานวิชาการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ของครูผู้สอนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครพิษณุโลก
Publication TypeThesis
Year of Publication2547
Authorsพิมลพรรณ, รัตนขจิตวงศ์
Degreeครุศาสตรมหาบัณฑิต
Date Published2547-01-27
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
Cityพิษณุโลก.
Thesis Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Keywordsโรงเรียนประถมศึกษา
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนางานวิชาการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ของครูผู้สอนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครพิษณุโลก ซึ่งมี 5 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนรู้ การวิจัยในชั้นเรียน สื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา และการวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา การวิจัยครั้งนี้ศึกษาเกี่ยวกับประชากรครูผู้สอนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครพิษณุโลก ในปีการศึกษา 2546 จำนวน 127 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.8519 ที่เรียกว่า มาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) เรื่อง ความต้องการในการพัฒนางานวิชาการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาค่าสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการในการพัฒนางานวิชาการของครูผู้สอนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครพิษณุโลก ด้านการพัฒนาหลักสูตรมีความต้องการมากที่สุดในเรื่อง การออกแบบกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน รองลงมา คือ การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ตามที่คาดหวังของหลักสูตร และด้านการปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพของผู้เรียนตามลำดับ ส่วนด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ พบว่า ครูมีความต้องการพัฒนามากที่สุดในเรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ รองลงมา ได้แก่ การใช้เทคนิคและการสอนที่ให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์เหตุผลและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการจัดกิจกรรมการสอนซ่อมเสริมตามลำดับ สำหรับด้านการวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ครูมีความต้องการมากที่สุดในเรื่อง การวิเคราะห์ปัญหาในชั้นเรียน ร องลงมา ได้แก่ การพัฒนาวิธีหรือนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อการทำวิจัยในชั้นเรียนและการใช้สถิติพื้นฐานที่เหมาะสมในการทำวิจัยในชั้นเรียนตามลำดับ สำหรับด้านสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา พบว่า ครูมีความต้องการมากที่สุดในเรื่อง การผลิตและพัฒนาสื่อที่สนองความแตกต่างและความสนใจของผู้เรียน รองลงมา ได้แก่ การนำนวัตกรรม สื่อ เทคโนโลยีและสารสนเทศต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ และการจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อใช้ในการจาดทำพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามลำดับ นอกจากนี้การวัดผลและประเมินผลทางการศึกษา พบว่า ครูมีความต้องการมากที่สุดในเรื่อง การประเมินจากการปฏิบัติ รองลงมา ได้แก่ การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง และการเทียบโอนทางการศึกษาตามลำดับ

Citation Key338
ไฟล์แนบ: