การพัฒนาแนวทางการตรวจร้านจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตรของสารวัตรเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก

ชื่อการพัฒนาแนวทางการตรวจร้านจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตรของสารวัตรเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก
Publication TypeThesis
Year of Publication2552
Authorsศิริพรรณ, สอาดสิทธิศักดิ์
Degreeครุศาสตร์มหาบันฑิต
Universityมหาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและประเมินแนวทางการตรวจร้านจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตรในจังหวัดพิษณุโลก ของสารวัตรเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 โดยการสัมภาษณ์สารวัตรเกษตร จำนวน 10 คน เพื่อสร้างแนวทางการตรวจร้านจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตรแล้วทดลองใช้แนวทางการตรวจร้านจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ กับผู้ประกอบการจำนวน 52 ราย แล้วนำผลการทดลองมาประชุมสารวัตรเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จำนวน 10 คน โดยวิธีสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม แบบสังเคราะห์เอกสาร แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางการตรวจร้านจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตรของสารวัตรเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาเกษตรเขตที่ 2 มีดังนี้ สารวัตรเกษตรต้องทำหนังสือแจ้งเตือนก่อนใบอนุญาตหมดอายุ วัน และแจ้งเตือนทางวิทยุกระจายเสียงรวมทั้งออกไปตรวจร้านก่อนใบอนุญาตหมดอายุการตรวจการจัดร้านดูอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่มีกลิ่นเหม็น จัดวางวัตถุอันตรายแยกจากสินค้าประเภทอื่นการตรวจสิ่งที่ทำเทียมเป็นวัตถุอันตรายแท้ทั้งหมดหรือบางส่วน ตรวจวัตถุอันตรายที่ผลิตขึ้นโดยมีสารที่สำคัญน้อยหรือมากกว่าเกณฑ์ค่าความคลาดเคลื่อน การตรวจดูเลขทะเบียนวัตถุอันตรายที่ระบุไว้บนฉลากของทุกผลิตภัณฑ์ การตรวจดูวัตถุอันตรายที่หมดอายุใช้งานตามวันที่แสดงบนฉลาก การตรวจดูความถูกต้องของ ชื่อทางการค้า ชื่อทางเคมี ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสาระสำคัญ การคัดเลือกวัตถุอันตรายที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานเสื่อมคุณภาพ ผลิตนานกว่า 2 ปี ควรมีการแก้ไขแบบฟอร์มการตรวจร้านค้า(ภค.1) และแบบฟอร์มการเก็บตัวอย่าง(ภค.2) ใหม่เพื่อบันทึกข้อมูลครบถ้วน ผู้ประกอบการต้องแสดงใบประกาศนียบัตรให้เห็นชัดเจนเพื่อตรวจสอบข้อมูล ถ้าฝึกอบรมครบ 5 ปี ให้ส่งรายชื่อผู้ประกอบการเข้าอบรมครั้งต่อไป 2. ผลการประเมินแนวทางการตรวจร้านจำหน่ายวัตถุอันตรายทางการเกษตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อนำไปทดลองใช้กับผู้ประกอบการ จำนวน 52 ราย สามารถแก้ไขปัญหาการไม่ต่ออายุใบอนุญาต การจัดการร้านไม่ถูกสุขลักษณะ จำหน่ายวัตถุอันตรายปลอม จำหน่ายวัตถุอันตรายที่ไม่ได้มาตรฐาน จำหน่ายวัตถุอันตรายที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ไม่ได้แสดงใบประกาศนียบัตรการฝึกอบรมและไม่ได้เข้ารับการฝึกอบรมเมื่อครบ 5 ปี ของผู้ประกอบการได้ทั้งหมด ซึ่งผู้ประกอบการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

Citation Key282
ไฟล์แนบ: 
AttachmentSize
PDF icon บทคัดย่อ138.77 KB
PDF icon ภาคผนวก2.14 MB
PDF icon บรรณานุกรม143.3 KB
PDF icon บทที่1291.16 KB
PDF icon บทที่20 ไบต์
PDF icon บทที่30 ไบต์
PDF icon บทที่40 ไบต์
PDF icon บทที่5237.51 KB
PDF icon สารบัญ0 ไบต์
PDF icon หน้าปก0 ไบต์