การศึกษาความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบล : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคลอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ชื่อการศึกษาความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบล : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคลอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
Publication TypeThesis
Year of Publication2557
Authorsชนกร, เถี่ยวสังข์
Degreeรัฐประศาสนศาสตร์มหาบันฑิต
Universityมหาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังของประชาชนตำบลบ้านคลองต่อการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคลอง ศึกษาปัจัยที่มีต่อการคาดหวังของประชาชนตำบลบ้านคลองต่อการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลจากประชาชนในตำบลบ้านคลอง และศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคลอง และศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลจากประชาชนในตำบลบ้านคลอง ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการกำหนดขนาดด้วยตารางของKrejcie and Morgan ได้จำนวน 354 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมุลได้แก่ แบบสอบถาม วิเคาระห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมานนำมาแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) ความคาดหวังของประชาชนบ้านคลอง ต่อการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคลอง อำเภอเมืองพิษณุโลก ทั้งหมด 3 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนา รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านการบริหารและด้านการบริการ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคาดหวังของประชาชนตำบลบ้านคลอง ต่อการยกฐานพเป็นเทศบาลตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคลอง อำเภอเมืองพิษณุโลก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกาา มีผลต่อคาดหวังของประชาชนตำบลบ้านคลอง ต่อการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคลอง ส่วน อาชีพ ไม่มีผลต่อคาดหวังของประชาชนตำบลบ้านคลอง ต่อการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลบ้านคลอง ส่วน อาชีพ ไม่มีผลต่อคาดหวังของประชาชนตำบลบ้านคลอง ต่อการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านคลอง อำเภอเมืองพิษณุโลก 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความคาดหวังของประชาชน ต่าการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลได้แก่ สามารถพัฒนาชุมชนให้เจริญ และคูแลทุกข์สุขประชาชนในเทศบาล ทำให้ประชาชนมีสวัสดิการที่ดีขึ้น มีรายได้ต่อหัวที่สูงขึ้นและการบริหารจัดการภายในมีโครงสร้างสาธารณูปโภคที่มีความสะดวกสบาย แลดูเป็นระเบียบเรียบร้อยพัฒนาให้น่าอยู่น่าอาศัย ตามลำดับ

Citation Key291
ไฟล์แนบ: 
AttachmentSize
PDF icon บทคัดย่อ0 ไบต์
PDF icon ภาคผนวก155.46 KB
PDF icon บรรณานุกรม0 ไบต์
PDF icon บทที่10 ไบต์
PDF icon บทที่20 ไบต์
PDF icon บทที่30 ไบต์
PDF icon บทที่4126.98 KB
PDF icon บทที่50 ไบต์
PDF icon สารบัญ93.39 KB
PDF icon หน้าปก0 ไบต์