การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลกเขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Primary tabs

Titleการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลกเขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Publication TypeThesis
Year of Publication2548
Authorsจิรภรณ์, เอมเอี่ยม
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Keywordsการทำวิจัยในชั้นเรียน, ครูผู้สอน, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลกเขต 3
Abstract

การวิจัยเรื่องนี้เพื่อศึกษาสภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน ของครูผู้สอน สมการพยากรณ์ที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของคูรผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพึ้นที่การศึกษา พิษณุโลกเขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้าน การบริหารงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลกเขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2547 จำนวน 5 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ (checkList) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scacle) 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จูรปเพื่อวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ ค่าสหสัมพันธ์พหุคูณและการถดถอยพหุคูณ (Multiple correlation and Multiple Regression) ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนครูผู้สอนส่วนใหญ่เคยทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาและ พัฒนาการ เรียนการสอน โดยส่วนใหญ่ทำครั้งเดียว และทำวิจัยในชั้นเรียนเป็นกลุ่มกับเพื่อน ปัญหาที่นำมาทำวิจัยส่วนใหญ่ เป็นปัญูหาเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน รองลงมาเป็นปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมนักเรียน เทคนิคและกระบวนการสอน สื่อและนวัตกรรม ส่วนครูผู้สอนที่ไม่เคยทำวิจัยในชั้นเรียน ใช้วิธีการแก้ปัญหา และพัฒนาการเรียนการสอน โดยการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ที่พบ ศึกษาเด็กเป็นรายกรณี และใช้ประสบการณ์เดิม ของครู 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู แยกเป็น 2 ปัจจัย คือ 2.1. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ครูผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับดี มีเจตคติต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน และมีความฉลาดทางอารมณ์ (ด้านการตั้งใจให้บรรลุเป้าหมาย) อยู่ในระดับสูง 2.2. ปัจจัยด้านการบริหารงาน ได้แก่ ครูผู้สอนมีความเห็นว่าวิสัยทัศน์ของผู้บริหารต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน อยู่ในระดับมาก การส่งเสริมสนับสนุนด้านการวิจัยในชั้นเรียน ของผู้บริหารอยู่ในระดับปานกลางและการพัฒนา บุคลากรด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของคูรผู้สอนส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนาโดยการเข้าร่วมประชุมสัมมนา 3. ตัวแปรพยากรณ์ที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน ได้แก่ การพัฒนาบุคลากร วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร วุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน โดยตัวแปรด้านประสบการณ์การทำงานมี ความสัมพันธ์ทางลบ ซึ่งสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 27.80 โดยสามารถนำมาสร้างสมการพยากรณ์การทำวิจัยใน ชั้นเรียนของครูผู้สอนในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้ สมการในรูปคะแนนดิบ Y = 1.789 + .652 x3 + .644 x7 1 .369 x1+ .779 x2 สมการในูรปคะแนนมาตรฐาน Y = .326 zx3 + .233 zx7 - .156 zx1 + .154z x2

Citation Key175
ไฟล์แนบ: 
AttachmentSize
PDF icon tpg.pdf101.89 KB
PDF icon app.pdf447.63 KB
PDF icon ch5.pdf488.41 KB
PDF icon ch4.pdf586.56 KB
PDF icon ch3.pdf261.06 KB
PDF icon ch2.pdf2.42 MB
PDF icon ch1.pdf355.09 KB
PDF icon con1.pdf185.71 KB
PDF icon abs.pdf210.88 KB
PDF icon bib.pdf368.74 KB