การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียน นักศึกษา ของมหาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Primary tabs

Titleการศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียน นักศึกษา ของมหาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Publication TypeThesis
Year of Publication2558
Authorsสมพร, โพธิ์กำเนิด
Degreeครุศาสตร์มหาบันฑิต
Universityมหาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียน นักศึกษา ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้วิธีการสังเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1.ปัญหาบริหารงานกิจการนักเรียน นักศึกษา ของมหาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารงานปกครอง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านการบริหารงานแนะแนวอาชีพและจัดหางาน และด้านโครงการพิเศษและบริการชุมชน 2. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานกิจกรรมกิจการนักเรียน นักศึกษา ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในภาพรวม พบว่าประเด็นปัญหาการบริหารงานกิจการนักเรียน นักศึกษา นักเรียน สูงสุด คือด้านการบริหารงานปกครอง มีแนวทางพัฒนาดังนี้ 1) ควรสร้างความตระหนักในงานปกครอง 2)ควรสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานปกครอง 3)ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประชุมวางแผน กำหนดทิศทางแนวทางในการดำเนินงานปกครอง 4)ควรมีการคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถมาปฏิบัติหน้าที่ในงานปกครอง และ 5)ควรมีการสนับสนุนส่งเสริมการจัดตั้งชมรม ส่งเสริมการใช้เวลาว่างที่เกิดประโยชน์สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามีแนวทางพัฒนาประเด็นที่มีปัญหาสูงสุดดังนี้ ประเด็นที่ 1 การพัฒนาการกำหนดกลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติตามกลยุทธ์การบริหารงานกิจกรรมนักเรียน นักศึกษา มีแนวทางการพัฒนาดังนี้ 1) ควรมีการประชุมรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะงานด้านกิจกรรมนักเรียน นักศึกษาจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 2)ควรมีการคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ครูด้านงานกิจกรรมนักเรียน นักศึกษา และ 3) ควรจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ สอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจ ของผู้เรียน ประเด็นที่ 2 การมีความส่วนร่วมดำเนินการวิเคราะห์จุดเด่น-จุดด้อยเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงการบริหารงานครูที่ปรึกษา มีแนวทางพัฒนาดังนี้ 1) ควรมีการจัดประชุมรับฟังข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานครูที่ปรึกษา 2)ควรมีการวิเคราะห์กำหนดแนวทางในการปรับปรุงพัฒนางานครูที่ปรึกษา และ3) ควรการกำกับ นิเทศติดตาม และให้การสนับสนุนด้านการบริหารงานครูที่ปรึกษา ประเด็นที่ 3 การพัฒนากำหนดกลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติตามกลยุทธ์การบริหารงานปกครอง มีแนวทางพัฒนาดังนี้ 1) ควรส่งเสริมการสร้างความร่วมมือด้านงานปกครองกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 2)ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมทั้งองค์กรภายในและภายนอกในการบริหารงานปกครอง และ 3) ควรมีการสร้างระบบกลไกในการดำเนินงาน ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การการดำเนินงานปกครอง ประเด็นที่ 4 การพัฒนาการกำหนด กลยุทธ์ และแนวทางการปฏิบัติตามกลยุทธ์การบริหารงานแนะแนวอาชีพและจัดหา มีแนวทางการพัฒนาดังนี้ 1) ควรเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกำหนดจุดมุ่งหมาย และกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารงานแนะแนวอาชีพและจัดหางาน 2) ควรสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการกำหนดแนวทางการบริหารงานแนะแนวและการจัดหางาน 3) ควรดำเนินการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการนำกลยุทธ์และการบริหารงานแนะแนวอาชีพและการจัดหางาน และ 4)ควรมีการกระตุ้นส่งเสริมให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องนำกลยุทธ์การบริหารงานแนะแนวอาชีพและจัดหางานไปปฏิบัติตามกลยุทธ์การบริหารไปปฏิบัติอย่างเป็นระบบ ประเด็นที่ 5 การพัฒนาการกำหนดกลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติงานตามกลยุทธ์การบริหารงานสวัสดิการ มีแนวทางพัฒนาดังนี้ 1) ควรเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกำหนดจุดมุ่งหมาย กลยุทธ์การบริหารงานสวัสดิการ 2) ควรดำเนินการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการนำกลยุทธ์ในการบริหารงานสวัสดิการ และ 3) ควรมีการกระตุ้นส่งเสริมให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องนำกลยุทธ์การบริหารงานสวัสดิการไปปฏิบัติอย่างเป็นระบบ และประเด็นที่ 6 การพัฒนาการกำหนดกลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติงานตามกลยุทธ์การบริหารงานโครงการพิเศษและบริการชุมชน มีแนวทางพัฒนาดังนี้ 1) ควรเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกำหนดจุดมุ่งหมาย กลยุทธ์ในการบริหารงานโครงการพิเศษและบริการชุมชน 2) ควรส่งเสริมการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน หน่วยงานอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารงานโครงการพิเศษและบริการชุมชน 3)ควรมีการกระตุ้นส่งเสริมให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องนำกลยุทธ์การบริหารงานแนะแนวอาชีพและจัดหางานไปปฏิบัติอย่างเป็นระบบ และ 4) ควรมีการประเมินผลการดำเนินงานเพื่อนำผลการประเมินไปกำหนดกลยุทธ์ในการทำงานอย่างเป็นระบบ

Citation Key285
ไฟล์แนบ: