ยุทธ์ศาสตร์การเสริมสร้างพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก

Primary tabs

Titleยุทธ์ศาสตร์การเสริมสร้างพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก
Publication TypeThesis
Year of Publication2556
Authorsนันท์นภัส, พึ่งพิณ
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Date Published2557-09-23
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Thesis Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Keywordsการออกกำลังกาย, การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ, บุคลากรสังกัดองค์การบริการส่วนจังหวัดพิษณุโลก, ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างพฤติกรรมการออกกำลังกาย, อบจ.อบจ.พิษณุโลก, เพื่อสุขภาพ
Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม(Mixed methodology) ใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับบุคลากร สังกัดองค์การบริหารจังหวัดพิษณุโลก และเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การเสริมสร้างพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ บุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 250 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย ด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1. บุคลากรการบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก มีพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยทางชีวสังคมที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และลักษณะงานที่ทำ ส่วนอายุและระดับชั้นของตำแหน่งไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมออกกำลังกายของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ปัจจัยนำด้านความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการออกกำลังกายไม่มีอย่างนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยเอื้อที่มีความสำพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ นโยบายกระทรวงสาธารณสุขสถานที่และอุปกรณ์ในการออกกำลังกาย ปัจจัยเสริม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของบุคลากรอง๕การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก อย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .05 คือ การได้รับข่าวสารจากสื่อต่างๆ และการได้รับแรงสนับสนุนจากบุคคล 2. การกำหนดยุทธศาสตร์การเสริมสร้างพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กำหนดยุทธศาสตร์ 2 ด้าน ประกอบด้วย 1) ยุทธศาสตร์เชิงรุกเพื่อพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง 2)ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหา/กำจัดจุดอ่อน ผลการวิจัยเสนอเพื่อวางแผนยุทธศาสตร์เสริมสร้างพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำกรับบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย หันมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพกันเพิ่มมากขึ้น มีพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสม่ำเสมออย่างต่อเนื่องและยั่งยืน มีพลังความสามารถในการดูแลและพัฒนาตนเองรวมถึงคนรอบข้างได้

Citation Key16
ไฟล์แนบ: