การประเมินโครงการหนึ่งโรงเรียน หนึ่งผลิตภัณฑ์ ของโรงเรียนในอำเภอนครไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 3

Primary tabs

Titleการประเมินโครงการหนึ่งโรงเรียน หนึ่งผลิตภัณฑ์ ของโรงเรียนในอำเภอนครไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 3
Publication TypeThesis
Year of Publication2547
Authorsพงษ์เจริญ, นพวรรณ
Degreeครุศาสตรมหาบัณฑิต
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Keywordsการประเมินโครงการ, สพฐ.พิษณุโลก เขต 3, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 3, หนึงโรงเรียน หนึ่งผลิตภัณฑ์, หนึ่งผลิตภัณฑ์, หนึ่งโรงเรียน, อำเภอนครไทย, โรงเรียน
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อประเมินการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโครงการ “หนึ่งโรงเรียน หนึ่งผลิตภัณฑ์” ของโรงเรียนในอำเภอนครไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 3 กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 16 คน ครูจำนวน 24 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 จำนวน 125 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 125 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพแวดล้อมหรือบริบทชุมชน ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ภูมิปัญญาและทรัพยากรในท้องถิ่น เอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโครงการหนึ่งโรงเรียน หนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยแต่ละโรงเยนได้เลือกกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาและทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน 2. ปัจจัยเบื้องต้น เมื่อพิจารณาจากด้านวัสดุ และทรัพยากร ความร่วมมือของชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลการประเมินโดยภาพรวม พบว่า โรงเรียนมีความพร้อมในระดับมากด้านงบประมาณมีความพร้อมในระดับน้อย 3. กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โรงเรียนได้ส่งเสริมให้นักเรียนร่วมกิจกรรม มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบและติดตามผล และจัดสรรเวลาที่เหมาะสมในการประกอบกิจกรรมให้กับนักเรียน ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก แต่ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผน การติดตามผล การนำผลการประเมินมาพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของโครงการ และการชี้แจงผลการดำเนินงานมีผลการประเมินในระดับปานกลาง 4. ผลการจัดกิจกรรม พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครู มีความพึงพอใจในผลของการจัดกิจกรรมในระดับปานกลาง ส่วนการทำให้นักเรียนพัฒนาทักษะไปสู่พื้นฐานงานอาชีพมีความสนใจกิจกรรมของโครงการ เห็นความสำคัญของท้องถิ่นและใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ผลการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความรู้ ความเขาใจว่าผลการดำเนินกิจกรรมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและพัฒนาพื้นฐานงานอาชีพ มีความภาคภูมิใจในผลงานและเห็นคุณค่าในระดับมาก ยกเว้นดานการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับเวลาเรียนการแสดงผลงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดจนการสร้างผลงาน การจัดหาวัสดุ การเผยแพร่และการประเมินผล ด้านการจัดจำหน่ายและการหารายได้ระหว่างเรียน อยู่ในระดับปานกลาง

Citation Key144
ไฟล์แนบ: 
AttachmentSize
PDF icon tpg.pdf80.65 KB
PDF icon bib.pdf82.78 KB
PDF icon ch5.pdf270.61 KB
PDF icon ch4.pdf45.05 KB
PDF icon ch3.pdf554.31 KB
PDF icon ch2.pdf1.45 MB
PDF icon ch1.pdf326.4 KB
PDF icon con1.pdf41.91 KB
PDF icon abs.pdf22.95 KB
PDF icon app.pdf1.04 MB