การศึกษาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่เอื้อต่อพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ตามความคิดเห็นของครูประถมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก

Primary tabs

Titleการศึกษาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่เอื้อต่อพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ตามความคิดเห็นของครูประถมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก
Publication TypeThesis
Year of Publication2547
Authorsอุบล, ทองพันธ์
Degreeครุศาสตรมหาบัณฑิต
Universityมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Cityพิษณุโลก
Keywordsครูประถมศึกษา, ความคิดเห็น, จังหวัดพิษณุโลก, ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา, พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542, พฤติกรรมผู้นำ
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามความคิดเห็นของครูประถมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครูประถมศึกษา จำนวน 325 คน จำแนกเป็นครูในเมือง 202คน ครูในชนบท 123 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นด้วยตัวเอง แบ่งออกเป็น 2 ตอนคือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเลือกตอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัว ของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามวัดเจตคติประเมินค่า 7 ระดับ ของ ออสกูด (Osgood) เพื่อวัดพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 30 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูเพศชายและครูผู้หญิงมีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก ไม่แตกต่างกัน มีแนวโน้มว่า ครูเพศชายต้องการผู้บริหารโรงเรียนที่มีพฤตกรรมผู้นำแบบมุ่งงานมากกว่าครูเพศหญิง 2. ครูในเมืองและครูในชนบท มีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กล่าวคือ ครูในเมืองต้องการผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ที่มีพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งงานมากกว่าครูชนบท 3. ครูที่ประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพบว่าครูที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 21 ปีขึ้นไป ต้องการผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งงานมากกว่าครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานระหว่าง 1 – 10 ปี 4. สำหรับการจำแนกวิเคราะห์เปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า ครูในเมืองและครูในชนบทมีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวน 4 ด้าน คือ ด้านสนับสนุนการกระจายอำนาจประสานความร่วมมือกับชุมชน ( = .01)ด้านสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต (=.01) ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาและมาตรฐานการศึกษา((=.01) และด้านการระดมทรัพยากรจากแหล่งชุมชนมาใช้ในการจัดการศึกษา ((=.05) กล่าวคือ ครูในเมืองต้องการผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีพฤติกรรมผู้นำ แบบมุ่งงานมากกว่าครูในชนบททั้ง 4 ด้าน และครูที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาแตกต่างกัน 2 ด้าน คือ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษามาตรฐานการศึกษา((=.05) และด้านการสนับสนุนการกระจายอำนาจประสานความร่วมมือกับชุมชน((=.01) กล่าวคือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 21 ปีขึ้นไป ต้องการผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่มีพฤติกรรมผู้นำแบบม่งงานมากกว่าครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานระหว่าง 1 – 10 ปีทั้ง 2 ด้าน

Citation Key174
ไฟล์แนบ: 
AttachmentSize
PDF icon tpg.pdf58.87 KB
PDF icon bib.pdf168.72 KB
PDF icon ch5.pdf257.78 KB
PDF icon ch4.pdf605.74 KB
PDF icon ch3.pdf246.12 KB
PDF icon ch2.pdf2.29 MB
PDF icon ch1.pdf272.33 KB
PDF icon con1.pdf117.98 KB
PDF icon abs.pdf153.64 KB
PDF icon app.pdf404.9 KB